ศิษย์เก่า
การตัดสินใจเลือกอาชีพ
สิ่งสำคัญในการตัดสินใจเลือกอาชีพ ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ประการ คือ
1. แนวโน้มของตลาดแรงงาน
เป็นข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการผู้ทำงานในด้านต่าง ๆ ในปัจจุบัน และการพยากรณ์ที่จะมีความ ต้องการเพิ่มขึ้นหรือลดลงในอนาคต
2. ลักษณะงาน
งานที่จะต้องทำเป็นประจำมีลักษณะอย่างไร ผู้ทำงานจะต้องทำอะไรบ้าง เป็นงานที่ทำให้เกิด ความเพลิดเพลินหรือก่อให้เกิดความเบื่อหน่าย งาน ใหญ่หรืองานเล็ก มีความรับผิดชอบที่สำคัญหรือไม่ ต้อง เกี่ยวข้องกับตัวเลข สิ่งของ หรือคน ต้องใช้เครื่องมืออุปกรณ์มากหรือไม่ ต้องนั่งทำงาน ยืนทำงาน ต้องเดิน ทางหรือไม่
3. สภาพแวดล้อมของงาน
ได้แก่ สภาพแวดล้อมและบรรยากาศของงาน เช่น ร้อน เย็น ชื้น แห้ง เปียก ฝุ่นละออง สกปรก เสียงดัง ในอาคาร กลางแจ้ง ในโรงงาน มีสารพิษ มีสาร กัมมันตภาพรังสี มีความขัดแย้ง เป็นต้น
4. คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
อายุ ได้มีการกำหนดช่วงอายุในการทำงานและเกษียณไว้อย่างไร เพศ อาชีพนั้น ๆ โดยทั่วไปเป็นอาชีพสำหรับเพศหญิงหรือเพศชาย หรือให้ โอกาสแก่ทั้งหญิงทั้งชาย หรือให้โอกาสแก่เพศใดเพศหนึ่งมากกว่า
5. การเข้าประกอบอาชีพ
การเข้าประกอบอาชีพต้องมีวิธีการอย่างไร โดยการสมัครงานกับนายจ้างด้วยตนเองต้องมีการสอบสัมภาษณ์หรือต้องสอบข้อเขียนด้วย ถ้าเป็นการ ประกอบอาชีพอิสระต้องใช้ทุนทรัพย์เพื่อดำเนินกิจการมากน้อยเพียงใด
6. รายได้
ในการประกอบอาชีพนั้น ๆ จะมีรายได้เป็นวัน สัปดาห์ เดือน ปี โดยเฉลี่ยแล้วเป็นเงินเท่าใด
7. ความก้าวหน้า
อาชีพนั้น ๆ จะมีความก้าวหน้าเพียงใด จะต้องมีการศึกษาอบรมเพิ่มเติม มีความสามารถหรือประสบการณ์อย่างไรจึงจะได้เลื่อนขั้นมากน้อยเพียง ใด การประกอบอาชีพเดิมนำไปสู่อาชีพใหม่หรือไม่
8. การกระจายของผู้ประกอบอาชีพ
มีผู้ประกอบอาชีพมากน้อยเพียงใดและกระจายอยู่ทั่วประเทศหรือมีอยู่เพียงบางจังหวัด ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ผู้ประกอบอาชีพที่ใดก็ได้หรือจะต้อง อยู่ที่ใดที่หนึ่งโดยเฉพาะ
9. ข้อดีและข้อเสีย
อาชีพแต่ละอย่างย่อมมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งขึ้นอยู่กับความพอใจและความต้องการของผู้ประกอบอาชีพของแต่ละคน งานบางอย่างอาจมีการ ทำงาน ล่วงเวลา ทำงานในวันเสาร์อาทิตย์ หรือ วันหยุด และการเดินทางไปปฏิบัติในท้องที่อื่นๆ งานบางอาชีพมีความมั่นคงกว่างานอาชีพอื่น ฯลฯ
ประการที่ 2 : ปัจจัยภายใน ได้แก่
ปัจจัยส่วนบุคคล
– ความสนใจ
– บุคลิกภาพ
– สติปัญญา
– ความถนัด
– ทักษะ
– ความสัมฤทธิผล
– ประสบการณ์
– แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิผล
– ความรับผิดชอบ
– ความอุตสาหะ
– ความตรงต่อเวลา
– ความอบอุ่น
– ระดับการกล้าเสี่ยง
– ความเป็นคนเปิดเผย
– ความไม่ยืดหยุ่น
– ความแกร่งของจิตใจ
– ความรู้สึกเกี่ยวกับคุณค่าแห่งตน
– ความสามารถในการตัดสินใจ
– วุฒิภาวะทางอาชีพ
– เพศ
– เชื้อชาติ
– อายุ
– ความแข็งแรงของร่างกาย
– สุขภาพ
– ฯลฯ
จะทราบได้อย่างไรว่าอาชีพไหนเหมาะสมกับท่าน
– ค่านิยมทางการงาน
– จุดมุ่งหมายชีวิต
– จุดมุ่งหมายทางอาชีพ
– การรับรู้เกียรติและชื่อเสียงของอาชีพ
– ทัศนคติต่ออาชีพต่าง ๆ
– ความเข้าใจอาชีพที่เกี่ยวกับคน/ข้อมูล
– จริยธรรมในการทำงาน
– การใช้เวลาว่าง
– ความต้องการเปลี่ยนแปลง
– ความต้องการกฎเกณฑ์
– ความต้องการสนับสนุน/ช่วยเหลือ
– ความต้องการอำนาจ
– ความมั่นคง
– ความปลอดภัย
– การทำงานให้เป็นประโยชน์กับผู้อื่น
– ฯลฯ
คนเรามีความถนัด ความสามารถ และความสนใจในงานอาชีพแตกต่างกัน บางคนเหมาะที่จะ ทำงานด้านหัตถกรรม บางคนเหมาะสมที่จะทำงาน เกี่ยวกับเครื่องจักรกล หรืองานที่เกี่ยวข้องกับด้าน วิทยาศาสตร์ ส่วนบางคนอาจจะเหมาะสมที่จะทำงานเกี่ยวกับการสอนดนตรี การช่วยเหลือติดต่อ ประชาชน เหล่านี้เป็นต้น แต่ละคนมีพรสวรรค์ไม่เหมือนกัน ไม่สามารถทำงานชนิดเดียวกันได้หมด ทุก คน ข้อสำคัญก็คือ ท่านต้องรู้จักตัวเอง และรู้จักงานอาชีพต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง รวมทั้งพิจารณา ดู ว่ามีงานอะไรบ้างที่ท่านชอบและสนใจมากที่สุด และงานนั้นๆ เหมาะสมกับอุปนิสัยและบุคลิกลักษณะ ของท่านหรือไม่
ปัญหาก่อนตัดสินใจเลือกอาชีพของนักเรียนหรือผู้สมัครงาน
2. นักเรียนและผู้สมัครงาน ต้องการความช่วยเหลือเกี่ยวกับการให้คำปรึกษา แนะนำ แนะแนวอาชีพ แนะแนวการศึกษาต่อ และการเตรียมตัวก่อนเข้าสู่ ตลาดแรงงาน
3. นักเรียนและผู้สมัครงาน จะต้องรู้ขีดความสามารถ สติปัญญา ความถนัด ความสนใจ และความ พร้อมในการเลือกประกอบอาชีพให้เหมาะสมกับตนเอง
4. ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ นักเรียนและผู้สมัครงาน จะต้องมีความรู้ในเรื่องปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งมีผลตั้งแต่การเลือกเรียนต่อหรือศึกษาเพิ่มเติมในสาขา วิชาที่ใช้เงินทุนจำนวนน้อย และเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน ตลอดจน การฝึกพัฒนา ฝีมือตนเองเพิ่มเติมเพื่อให้คุณลักษณะเด่น ในการสมัครงาน สรุปข้อ
1. ผู้ตัดสินใจเลือกอาชีพควรรู้จักตนเองให้ดีเสียก่อน โดยเฉพาะในด้านอุปนิสัย ความรู้ ความถนัด ความสามารถ ความสนใจ บุคลิกลักษณะ สุขภาพ นิสัย ทัศนคติเกี่ยวกับอาชีพนั้น ๆ และฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว ฯลฯ
2. ควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาชีพต่าง ๆ ลักษณะของงานอาชีพ ค่าจ้าง สวัสดิการ ความก้าวหน้า และความมั่นคงของงาน ตลอดจนความต้องการ ของตลาดแรงงาน ฯลฯ กรมแรงงาน กรมแรงงาน