สุนทรียศาสตร์และการวิจารณ์ศิลปะ (Aesthetics and Art Criticism)
โดยอาจารย์วัชรินทร์ สินศิริ
เอกสารประกอบการสอนรายวิชา 2003106 สุนทรียศาสตร์และการวิจารณ์ศิลปะ (Aesthetics and Art Criticism) เรียบเรียงขึ้นมาเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนใน หลักสูตรทัศนศิลป์ 2554 ภาคเรียนที่ 2/2558 กลุ่มนักศึกษาวิชาสาขาทัศนศิลป์ โดยมี จุดมุ่งหมายเพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์ ปรัชญาศิลปะและ การวิจารณ์ศิลปะ ซึ่งเนื้อหาดังกล่าวจะส่งผลทําให้ผู้เรียนเกิดแนวคิด แรงบันดาลใจด้วยการ นําเอาหลักการ กฎเกณฑ์ของนักสุนทรียศาสตร์ นักปรัชญาศิลปะและนักวิจารณ์ศิลปะมา ปรับใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะและการออกแบบต่อไป รวมทั้งยังสามารถนําไปปรับใช้ ในชีวิตประจําวันเพื่อการเลือกสรร ชื่นชมและวิพากษ์วิจารณ์ผลงานศิลปะเพื่อการแสดงพลัง ทางปัญญาและสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นมาในสังคม
เนื้อหาภายในเล่มแบ่งออกเป็น 9 บท โดยแต่ละบทจะเรียบเรียงตามลําดับ ความสําคัญและยากง่ายของเนื้อหา ที่ผู้เรียนสามารถที่จะแยกอ่านตามบทเรียนที่ตนเองสนใจ ก่อนหลังได้ เนื่องจากเนื้อหาการเรียนรู้จากเอกสารนี้เป็นการเขียนที่จบลงเฉพาะเรื่องไป อย่างไรก็ตามการเรียนรู้ด้านสุนทรียศาสตร์และการวิจารณ์ศิลปะจะประสบความสําเร็จมาก น้อยเพียงใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับผู้เรียนเป็นสําคัญที่จะต้องมีการปฏิบัติและสั่งสมประสบการณ์ ความรู้ทั้งในศาสตร์สาขาศิลปะ ศาสตร์สาขาปรัชญาและศาสตร์ สาขาวิชาการ อื่น ๆ ใน ลักษณะข้ามสาขา เช่น ประวัติศาสตร์ การเมือง การปกครอง สังคม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี เศรษฐศาสตร์ฯลฯ รวมทั้งมีทักษะการปฏิบัติงาน การวิเคราะห์ สังเคราะห์ การ ตีความหมาย ประเมินและการพูดหรือเขียนเพื่อการสื่อสารให้กับผู้รับสารในระดับต่าง ๆ ได้ รับรู้ด้วยการอ่านหรือการฟัง จนเกิดความรู้ความเข้าใจ ชื่นชม เห็นคุณค่า ตระหนัก รวมทั้ง มีความสนุกสนานเพลิดเพลินกับรสในการเลือกใช้ภาษาที่สละสลวยสวยงาม มีการพรรณนา และบรรยายให้เนื้อหาที่เขียนหรือพูดเพื่อการวิจารณ์ ที่เกิดจากการรวมศาสตร์ต่างๆ เข้า ด้วยกันจนเกิดความน่าสนใจในหมู่ผู้อ่านและผู้ฟัง การเรียบเรียงเอกสารประกอบการสอน ฉบับนี้ผู้เขียนใช้หนังสือ เอกสารทางวิชาการ ตํารา วารสาร และอินเทอร์เน็ตของนักวิชาการ และนักวิพากษ์วิจารณ์ที่มีชื่อเสียงหลายท่าน และได้นําความรู้เหล่านั้นมาสังเคราะห์และเขียน เป็นเนื้อหาขึ้นมา จึงขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้